เขี้ยวงู
วงศ์ OLEACEAE สกุล Jasminum ชนิด putii Kerr
ชื่อพื้นเมือง พมดินสอป่า, แล้วน้อย, พระยาลิ้นงู, พญาลิ้นงู
ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม หัวเป็นแบบกลีบ ลักษณะกลมแบนคล้ายหัวกระเทียม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวประมาณ ๒.๕๐-๓.๐๐ ซ.ม. ก้านใบแผ่ออกเป็นกาบโอบหุ้มหัวโดยรอบ ใบรูปแคบยาว ขนาดกว้าง ๐.๘๐-๑.๒๐ ซ.ม. ยาว ๓๐-๔๐ ซ.ม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ทางด้านบนเส้นกลางใบเป็นร่องกว้าง ทางด้านล่างเส้นใบนูนเป็นสันเล็กน้อย แผ่นใบทางด้านล่างสีเขียวเข้มกว่าใบ
ประโยชน์ เป็นว่านที่ใช้แก้อสรพิษกัดต่อย เช่น แมงป่องต่อย ตะขาบกัด ต่อหรือแตนต่อย หรือแม้แต่มดกัดก็ใช้ได้ ส่วนในรายที่ถูกงูกัด เช่น งูเห่า งูจงอาง ในถิ่นที่ทุรกันดารและห่างไกลสถานพยาบาลจริงๆ ควรเป็นวิธีสุดท้ายที่จะใช้เพื่อปฐมพยาบาลขั้นต้นเท่านั้น หลังจากนั้นควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
วิธีแก้พิษ เมื่อถูกสัตว์มีพิษกัดหรือต่อย ควรนำว่านนี้มาฝนรวมกับน้ำมะนาว และทาบริเวณที่ถูกกัดต่อย
วิธีปลูก เขี้ยวงู ปลูกในดินร่วนปนทราย ขยายพันธุ์โดยใช้หัว นำหัวว่านมาคลุกกับปุ๋ยคอกที่มีส่วนผสมกับเศษใบไม้ผุเปื่อย และปลูกลงกระถาง โดยหัวจะต้องโผล่พ้นดิน ควรจะมีทางระบายน้ำที่ออกจากรูของก้นกระถางไว้ด้วย